จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันอังคารที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2554

การท่องเที่ยวทางน้ำของทวีปยุโรป

เมืองอิสตันบูล ตุรกี

  •  ตุรกี (Turkey) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐตุรกี (Republic of Turkey) เป็นประเทศที่มีดินแดนทั้งในบริเวณเธรซ บนคาบสมุทรบอลข่านในยุโรปตอนใต้ และคาบสมุทรอานาโตเลียในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ ตุรกีมีพรมแดนทางด้านทิศตะวันออกติดกับประเทศจอร์เจีย อาร์เมเนีย อาเซอร์ไบจาน และอิหร่าน มีพรมแดนทางด้านทิศใต้ติดกับอิรัก ซีเรีย และทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ส่วนทางทิศตะวันตกติดกับกรีซ บัลแกเรีย และทะเลอีเจียน ทางเหนือติดกับทะเลดำ ส่วนที่แยกอานาโตเลียและแทรสออกจากกันคือทะเลมาร์มารา และช่องแคบตุรกี (ช่องแคบบอสฟอรัสและช่องแคบดาร์ดาเนลเลส) ซึ่งมักถือเป็นพรมแดนระหว่างทวีปเอเชียกับยุโรป จึงทำให้ตุรกีเป็นประเทศที่มีดินแดนอยู่ในหลายทวีป

  • ที่ตั้ง
    ส่วนหนึ่งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปยุโรป (ร้อยละ 3) อีกส่วนหนึ่งอยู่ในเอเชียตะวันตก ทิศเหนือติดทะเลดำ ทิศตะวันออกติดประเทศจอร์เจียและประเทศอาร์เมเนีย ทิศใต้ติดประเทศอิรัก ประเทศซีเรีย และทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทิศตะวันตกเฉียงเหนือจดประเทศบัลแกเรียและประเทศกรีซ


  • เมืองอิสตันบูล ประเทศตุรกี ตั้งอยู่บริเวณช่องแคบบอสฟอรัส ( Bosphorus)  ซึ่งหมายความว่า ประเทศตุรกีเป็นประเทศเดียวในโลกที่พื้นที่ตั้งอยู่ใน 2 ทวีป นั้น คือ ทวีปเอเชีย และ ทวีปยุโรป  ช่องแคบบอสฟอรัส เป็นช่องแคบเป็นพรมแดนระหว่างตุรกีที่อยู่ในทวีปยุโรป กับ อานาโตเลียของเอเชีย  เป็นช่องแคบหนึ่งของตุรกีคู่กับช่องแคบดาร์ดาแนลส์ทางตอนใต้ที่เชื่อมกับทะเลอีเจียน  ช่องแคบบอสฟอรัสทางตอนเหนือและช่องแคบดาร์ดาแนลส์ทางตอนใต้เชื่อมระหว่างทะเลดำ กับทะเลมาร์มารา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน  ช่องแคบบอสฟอรัสยาว 30 กิโลเมตร ส่วนที่กว้างที่สุด 3,700 เมตร ส่วนที่แคบที่สุด 700 เมตร ความลึกระหว่าง 36 ถึง 124 เมตร  ฝั่งทะเลของช่องแคบเป็นเมืองอิสตันบูลที่มีประชากรหนาแน่นมาก

  • ในอดีตเมืองอิสตันบูลเป็นเมืองสำคัญของชนเผ่าเป็นจำนวนมากในบริเวณนั้น  จึงส่งผลให้อิสตันบูลมีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไป เช่น ไบแซมเทียม  คอนสแตนติโนเปิล สแตมโบล อิสลามบูล เป็นต้น  คำว่า '' อิสตันบูล" มาจากภาษากรีก แปลว่า " ในเมือง"   หรือ   "ของเมือง"   เมืองอิสตันบูลเป็นเมืองที่สวยงาม คุณจะได้สัมผัสกับกลิ่นอายความเป็นยุโรปอีกฝากหนึ่ง และกลิ่นอายของเอเชียอีกฝากหนึ่ง



 การท่องเที่ยวทางน้ำของเมืองอิสตันบูล ช่องแคบบอสฟอรัส

     ชื่อบอสฟอรัส มาจากเทพปกรณัม Bous แปลว่าแม่วัวในภาษากรีกโบราณ poros หมายถึงทางข้าม
‘Bosphorus’ จึงมีความหมายว่าทางแม่วัวข้าม แม่วัวเคยเป็นหญิงงามที่มีชื่อว่า ไอโอ (Io) ซึ่งซุส ราชาแห่งเทพเจ้ามีสัมพันธ์ด้วย เมื่อเฮรา มเหสีของซุสรู้เรื่อง ซุสจึงกลบเกลื่อนด้วยการสาปไอโอให้เป็นแม่วัว แต่เฮราผู้ชาญฉลาดได้ให้แมลงดูดเลือดต่อยไอโอที่สะโพกแล้วไล่เธอออกไปจากช่องแคบ 

เมื่อก่อน การข้ามช่องแคบบอสฟอรัสจากฝั่งยุโรปสู่ฝั่งเอเชียต้องใช้เรือเท่านั้น และถ้าแม่น้ำเป็นน้ำแข็งก็ข้ามไปไม่ได้ แต่เมื่อถึงปลายปี ค.ศ. 1973 สะพานบอสฟอรัสซึ่งได้กลายมาเป็นสะพานแขวนที่ยาวเป็นอันดับสี่ของโลก สร้างเสร็จสมบูรณ์ การคมนาคมข้ามแดนจึงเป็นเรื่องง่ายดายยิ่งขึ้น แต่หลังเปิดใช้ก็เกิดปัญหารถติดบนสะพานอย่างหนัก จึงต้องสร้างสะพานแห่งที่สอง คือ สะพานฟาติห์ และแห่งที่สามกำลังร่างแบบกันอยู่

ถึงอย่างไรเรือก็ยังเป็นทางเลือกที่นิยมอยู่ ทั้งสำหรับชีวิตประจำวันของชาวอิสตันบูล และสำหรับ
นักท่องเที่ยวที่แวะเวียนกันมาไม่ขาดสาย เรือล่องบอสฟอรัสมีทั้งแบบเรือโดยสารที่จอดตามท่าต่างๆ และแบบเหมาลำ เส้นทางยอดนิยมเป็นเรือเฟอร์รี่จากท่าเรือเอมิโนนูไป อนาโดลู คาวาอือ เรือจอดป้ายแรกที่เบชีคตัส  หรือพิพิธภัณฑ์เรือ (ฝั่งยุโรป) ผ่านพระราชวัง โดลมาบาเช ถัดมาคือพระราชวังชีราอาน เคยเป็นที่ประทับของสุลต่านอับดุลอาซิซ ถูกไฟไหม้ในทศวรรษ 1920 ปัจจุบันเป็นโรงแรมชีราอาน โฮเตล เคมปินสกี้ อันเลิศหรู ตรงข้ามกันเป็นฝั่งเอเชียที่เรียกว่า เฟติ อาห์เมต ปาซา ยาลึ เรียงรายไปด้วยเรือนไม้ฤดูร้อน และสถานทูตต่างชาติในยุคออตโตมัน



ใต้สะพานบอสฟอรัสฝั่งยุโรปเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีสีสัน ทั้งหอศิลป์ บาร์ ร้านอาหารมีระดับ บริเวณนี้ในอดีตเป็นหมู่บ้านออร์ตาเคอย์ ถัดมาคือ เบย์เลอร์เบยี ซารายึ ตำหนักเล็กขนาด 30 ห้อง ของสุลต่านอับดุล  อาซิซ จากนั้นเรือจะล่องสู่ย่านชานเมืองที่สงบและมีเสน่ห์แบบโบราณ อย่าง คานลึจา ที่มีโยเกิร์ตอร่อยขึ้นชื่อ อาร์นาวูตเคอย์ (หมู่บ้านอัลบาเนีย) และอานาโคลูฮีซารึ (ปราสาทอนาโตเลีย) ที่อยู่บนฝั่งเอเชีย ส่วนที่อยู่เยื้องกันบนฝั่งยุโรปเป็น รูเมลีฮีซารึ (ปราสาทเธรซ หรือปราสาทเครื่องตัดคอ) ที่สร้างโดยสุลต่านเมห์เมตผู้พิชิต ปราสาททั้งสองดูงามแปลกตาและไม่ค่อยน่ากลัว แต่ในอดีตคือเคยใช้เป็นที่บัญชาการและติดตั้งอาวุธยุทโธปกรณ์ในการตัดความช่วยเหลือที่กรุงคอนสแตนติโนเปิลจะได้รับ เพื่อจะปิดล้อมกรุงในปี ค.ศ. 145


                เมื่อเรือลอดใต้สะพานลอดช่องแคบแห่งที่สอง (สะพานฟาติห์) เสียงอึกทึกในตัวเมืองจะแผ่วลง เหลือแต่เสียงหวูดเรือประมงเล็กๆ ที่กลับจากหาปลาตอนกลางวัน และเรือบรรทุกน้ำมันของรัสเซียและโรมาเนียที่แล่นเข้าออกช่องแคบบอสฟอรัสและดาร์ดาแนลส์ ซึ่งสะท้อนให้เห็นภาพอดีตที่รัสเซียถือเอาช่องแคบตุรกีเป็นกุญแจปิดล็อกประตูหลังบ้านของตน

ท่าเรือปลายๆ ทางมีตลาดปลาและร้านอาหารทะเลจำนวนมาก ทั้งท่าเรือเยนีเคอย์, ซารีแยร์, เบย์คอซ และท่าสุดท้ายที่ อนาโดลู คาวาอือ ลองเลือกสักร้านเพื่อชิมอาหารทะเลสดๆ ที่ปรุงอย่างอร่อย เป็นการซึมซับกลิ่นอายของอิสตันบูล นครแห่งพันหนึ่งราตรี

ค่าโดยสารเรือล่องบอสฟอรัส

เรือโดยสารแบบเฟอร์รี่ :
เที่ยวเดียว (ต่อคน) 1.75 ยูโร (87.50 บาท) ไป - กลับ 3.75 ยูโร (187.50 บาท) เวลาออก 10.30 น. และ 13.35 น.

เรือโดยสารแบบส่วนตัว :ประมาณคนละ 10 ยูโร (ต่อรองได้) เรือจะแล่นโดยไม่หยุดแวะจนไปถึงปราสาทเธรซ ถึงจะหยุดให้ขึ้นจากเรือไปรับประทานอาหารประมาณ 1 ชั่วโมง ก่อนจะแล่นกลับ ใช้เวลาทั้งหมด
ประมาณ 3 ชั่วโมง เรือเที่ยวแรกออกเวลา 10.30 น. และสิ้นสุดในเวลา 18.00 น. สำหรับฤดูร้อน และ 16.00 สำหรับฤดูอื่น *** ซื้อตั๋วและลงเรือที่ท่าเรือเอมิโนนู




              นอกจากความสวยงามแล้วช่องแคบบอสฟอรัสยังเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญยิ่งในการป้องกันประเทศตุรกีอีกด้วย เพราะ มีป้อมปืนตั้งเรียงรายอยู่ตามช่องแคบเหล่านี้ ว่ากันว่าจะกระทั่งถึงยุคของการนำเอาเรือปืนใหญ่มาใช้ และไม่เคยปรากฏว่า กรุงอิสตันบูลถูกถล่มจนเสียหายอย่างหนักมาก่อนเลย ทั้งที่เป็นเพราะป้อมปืนดังกล่าวนี่เอง   ในปีค.ศ.1973 มีการเปิดใช้สะพานบอสฟอรัส ซึ่งทำให้เกิดการเดินทางไปมาระหว่างฝั่งเอเชียและยุโรปสะดวกมากขึ้น ขณะล่องเรือท่านจะได้เพลิดเพลินกับทิวทัศน์ สองข้างทาง ไม่ว่าจะเป็นพระราชวังโดลมาบาเช่ หรือบ้านเรือนสไตล์ยุโรปของบรรดาเศรษฐี ซึ่งล้วนแต่สวยงามตระการตาทั้งสิ้น


                                               ช่องแคบบอสฟอรัส




                                               Bosphorus Bridge




                                         ภาพบรรยากาศการล่องเรือ





















 

                                          
                                                       
                                                        




                                                       

1 ความคิดเห็น: